อ่านตรงนี้ก่อน :: 06 May 2003 :: Collocation ::
 
5 เรื่องล่าสุด
 
เรื่องเก่าๆ แบ่งตามหัวข้อย่อย
English
SGfSE
@Work
F.L.T.  **Update**
Health
Miscellaneous
 
แสดงความคิดเห็น
เกสต์บุ๊ค
เว็บบอร์ด
 
ผู้สนับสนุน
ไดอารี่แลนด์
 
:: English (from Webboard) ::

จากเว็บบอร์ดภาษาอังกฤษ


nitchawan
Administrator
Collocation - Which word goes with which
« on: May 6th, 2003, 1:37pm »

ความรู้ด้านคำศัพท์มีอีกมิติหนึ่งที่ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีในการผูกประโยค ก็คือ รู้ว่าคำศัพท์คำใดมักใช้ควบคู่กับคำศัพท์ใด เช่น ภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า strong wind และ heavy rain เมื่อต้องการสื่อความหมายว่า “ลมแรง” และ “ฝนตกหนัก” ตามลำดับ
คำว่า strong ยังอาจจะใช้ควบคู่กับ coffee เป็น strong coffee เพื่อสื่อความหายายว่า “กาแฟแก่” ส่วนคำว่า heavy ก็อาจใช้ควบคู่กับ smoker เพื่อสื่อความหมายว่า “คนที่สูบบุหรี่จัด” เช่นกัน
ตัวอย่างทั้งสี่ในภาษาอังกฤษ ตลอดจนคำแปลในภาษาไทยที่ยกมานี้เป็นปรากฏการณ์ทางภาษาที่เรียกว่า collocation ซึ่งอาจอธิบายขยายความให้เข้าใจง่ายๆได้ว่า which word goes with which อันเป็นที่มาของชื่อบทความตอนนี้

อธิบายศัพท์ collocation
คำว่า collocation ออกเสียงว่า ใช้เป็นคำนาม ในทางภาษาศาสตร์มีใช้อยู่ 2 ความหมายคือ
• ปรากฏการณ์ที่คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมักปรากฏร่วมกันตามความนิยมในการใช้ภาษา ในความหมายนี้คำว่า collocation จะใช้เป็น uncountable noun เช่น Advanced students of English need to be aware of the importance of collocation. “ผู้เรียนภาษาอังกฤษระดับสูงจำเป็นต้องตะหนักถึงความสำคัญของปรากฏการณ์ที่ค ำมักปรากฏร่วมกัน”
• กลุ่มคำที่มักปรากฏร่วมกัน กลุ่มคำกลุ่มหนึ่งก็ถือเป็น collocation หนึ่ง ในความหมายนี้ คำว่า collocation จะใช้เป็น countable noun เช่น ‘Strong wind’ and ‘heavy rain’ are English collocations. “strong wind และ heavy rain ต่างก็เป็นกลุ่มคำที่มักปรากฏร่วมกันในภาษาอังกฤษ”
ส่วนคำว่า collocate อาจใช้เป็นกริยาก็ได้ หรือใช้เป็นคำนามก็ได้
• เมื่อใช้เป็นคำกริยา ออกเสียงว่า หมายความว่า “มักปรากฏร่วมกัน” เช่น ‘Strong’ collocates with ‘wind’. “คำว่า strong มักปรากฏร่วมกับคำว่า wind” หรือ ‘Strong’ and ‘wind’ collocate. หรือ “คำว่า strong กับคำว่า wind มักปรากฏร่วมกัน”
• เมื่อใช้เป็นคำนาม ออกเสียงว่า หมายความว่า “คำที่มักปรากฏร่วมกัน” เช่น ‘Strong’ and ‘wind’ are collocates. “คำว่า strong กับคำว่า wind เป็นคำที่มักปรากฏร่วมกัน”

ทั้ง collocation และ collocate ต่างก็มีรากเหง้าจากละติน มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า “ตั้งอยู่ร่วมกัน”

จะหาความรู้ได้จากไหน
เรื่อง collocation นับว่าเป็นของใหม่มาก (นักภาษาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ J.R. Firth เป็นผู้ริเริ่มนำคำนี้มาใช้ในภาษาศาสตร์เมื่อปีค.ศ. 1940) ในวงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพิ่งจะตื่นตัวสนใจศึกษาเรื่องนี้เมื่อไม่กี่ส ิบปีมานี้เอง พจนานุกรมภาษาอังกฤษล้วนสำหรับผู้เรียนภาษา (ซึ่งในวงการนิยมเรียกเป็นอักษรย่อว่า MLD หมายถึง monolingual learners’ dictionary) ตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ จึงพยายามบรรจุข้อมูล collocation ในรูปของตัวอย่างแสดงวิธีใช้คำ เช่น เมื่อค้นคำว่า smoker ก็จะมีตัวอย่างให้เห็นว่า “a heavy smoker (= sb who smokes a lot)”
คำอธิบายเพิ่มเติมในวงเล็บเช่นนี้อาจมีกำกับอยู่ด้วยเพื่อช่วยให้ผู้ใช้พจน านุกรมเข้าใจความหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไป ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า collocation ไม่ใช่ idiom หรือสำนวน ซึ่งจะสื่อความหมายพิเศษแตกต่างไปจากความหมายปรกติตามตัวอักษรของคำศัพท์มาร วมกัน จึงจำเป็นต้องมีคำอธิบายกำกับทุกครั้ง เช่น There is no smoke without fire (สำนวนแบบอังกฤษ) หรือ where there’s smoke, there is fire (สำนวนแบบอเมริกัน) จะมีคำอธิบายว่า “(saying) if sth bad is being said about sb/sth, it usually has some truth in it.” (ตัวอย่างที่ยกมานี้ และตัวอย่างในย่อหน้าที่แล้วคัดมาจาก Oxford Advanced Learner’s Dictionary ฉบับ 6th edition ค.ศ. 2000) สำนวนนี้พอจะเทียบได้กับสำนวนไทยว่า “ไม่มีมูลฝอย หมาไม่ขี้”

ทั้งพจนานุกรมและตำราสอนศัพท์ในระยะหลังนี้มักจะอธิบายคล้ายคลึงกันว่า หากต้องการใช้ภาษาให้ฟังดูเป็นธรรมชาติ ดังที่เจ้าของภาษานิยมใช้กันตามปรกติ กล่าวคือ ฟังดูไม่ขัดเขิน ไม่แปร่งหู ก็ต้องรู้จัก collocation และจำเป็นต้องสะสมความรู้ด้านนี้เป็นรายๆไป (เช่น strong wind, heavy rain, strong coffee, heavy smoker) ในทำนองเดียวกับการเพิ่มพูนความรู้ศัพท์เป็นคำๆ

ส่วนหนังสืออ้างอิงว่าด้วย collocation นอกจากพจนานุกรมทั่วไปแล้ว ยังมีพจนานุกรมที่ว่าด้วยเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่น่าสนใจมีอยู่ 3 ฉบับคือ
• LTP Dictionary of Selected Collocations (1997)
• The BBI Dictionary of English Word Combinations, revised edition (1997)
• Oxford Collocations Dictionary for Students of English (2002)

ในเรื่อง collocations พจนานุกรมทั้งสามฉบับนี้แตกต่างจากพจนานุกรมทั่วไปอยู่ 2 ประการคือ
1. เก็บรายละเอียดมากกว่าพจนานุกรมทั่วไป เช่น คำว่า smoker นอกจากจะใช้คำว่า heavy ขยายแล้ว ยังอาจใช้คำนามว่า chain ขยายได้เช่นกัน เพื่อสื่อความหมายว่า “คนที่สูบบุหรี่จัดชนิดมวนต่อมวน”
2. ให้ความรู้ในแง่อื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น อธิบาย collocation ในเชิงทฤษฎี แล้วชี้ให้เห็นความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ collocation เพื่อการใช้ภาษาให้ถูกต้อง ตลอดจนจำแนกประเภทของ collocation และแสดงโครงแบบและวิธีใช้ collocation อีกด้วย

nitchawan
Administrator
Collocation - Which word goes with which - Pt. 2
« Reply #1 on: May 6th, 2003, 1:43pm »

ประเภท collocation
พจนานุกรมและตำราส่วนใหญ่จะถือชนิดคำที่ปรากฏอยู่ร่วมกันเป็นหลักในการจำแน กประเภท collocation ซึ่งพอจะประมวลได้ดังต่อไปนี้

- adjective + noun เช่น bright light “แสงสว่าง”
- quantifier + noun เช่น a beam of light “ลำแสง”
- verb + noun เช่น emit light “เปล่งแสง”
- noun + verb เช่น light shines “แสงส่อง”
- noun + noun เช่น a light source “แหล่งกำเนิดแสง”
- preposition + noun เช่น by the light of the moon “โดยอาศัยแสงจันทร์”
- noun + preposition เช่น the light from the window “แสงจากหน้าต่าง”
- adverb + verb เช่น choose carefully “เลือกด้วยความรอบคอบ”
- verb + verb เช่น be free to choose “มีอิสระที่จะเลือก”
- verb + preposition เช่น choose between two things “เลือกระหว่างของสองสิ่ง”
- verb + adjective เช่น make sth safe “ทำให้ปลอดภัย”
- adverb + adjective เช่น perfectly safe “ปลอดภัยเต็มที่”
- adjective + preposition ่เช่น safe from attack “ปลอดภัยจากการถูกจู่โจมหรือทำร้าย”
(ข้อมูลจาก Oxford Collocation Dictionary)

แต่ที่แปลกกว่าฉบับอื่นๆก็คือ The BBI Dictionary of English Word Collocations ซึ่ง จำแนก collocation ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. grammatical collocation หมายถึงวลีที่ประกอบด้วยคำหลัก (อาจเป็นคำนาม คำคุณศัพท์ หรือคำกริยา) ปรากฏคู่กับคำบุพบทหรือโครงสร้างไวยากรณ์อื่น เช่น กริยารูป infinitive หรืออนุประโยค ดังตัวอย่างต่อไปนี้
* คำนามเป็นหลัก
news about the earthquake “ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว” [noun + preposition]
an attempt to cut costs “การพยายามลดต้นทุน” [noun + infinitive]
the news that he died “ข่าวที่ว่าเขาตาย” [noun + that-clause]
* คำคุณศัพท์เป็นหลัก
angry at everyone “โกรธทุกคน” [adjective + preposition]
ready to go “พร้อมที่จะไป” [adjective + infinitive]
afraid that he would fail to the exam “กลัวว่าเขาจะสอบตก” [adjective + that-clause]
* คำกริยาเป็นหลัก
adhered to the plan “ยึดตามแผน” [verb + preposition]
offered to help “เสนอว่าจะช่วย” [verb + infinitive]
enjoyed watching TV “ชอบดูโทรทัศน์” [verb + V-ing]
suggested that he sees a doctor “เสนอแนะให้เขาไปหาหมอ” [verb + that-clause]
2. lexical collocation หมายถึงกลุ่มคำที่ปรากฏร่วมกันประเภทที่นอกเหนือจากประเภทแรก มักประกอบด้วยคำนาม คำกริยา คำคุณศัพท์ หรือคำกริยาวิเศษณ์ เช่น
wind a watch “ไขลานนาฬิกา” [verb + noun]
strong tea “น้ำชาแก่” [adjective + noun]
land reform “การปฏิรูปที่ดิน” [noun + noun]
adjectives modify “คำคุณศัพท์ขยายความ” [noun + verb]
a bouquet of flower “ดอกไม้ช่อหนึ่ง” [noun of noun]
sound asleep “หลับสนิท” [adverb + adjective]
argue heatedly “โต้แย้งอย่างเผ็ดร้อน” [verb + adverb]

ไม่ว่าจะจำแนก collocation เป็นกี่ประเภทหรือแบ่งเป็นกี่ชนิดย่อยก็ตาม ประเด็นสำคัญที่ผู้เรียนภาษาพึงสำเหนียกก็คือ คำศัพท์ที่เราเลือกใช้เพื่อสื่อสารนั้นมักมีคำอื่นใช้ควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ความหมายสมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อมีผู้เดินทาง ก็ย่อมมีผู้ร่วมทางฉันใด ถ้อยคำที่เราใช้ในภาษาก็ย่อมมีคำอันเป็น “สหจร” ฉันนั้น

คัดลอกมาจาก “คอลัมน์ภาษาน่ารู้” - มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๒-๘ พฤษภาคม ๒๕๔๖
โดย สมศีล ฌาณวังศะ (ตู้ปณ. 2001 จุฬาฯ กทม. 10332)