อ่านตรงนี้ก่อน :: Friday, Jul. 30, 2004 :: แฟร์มาต์ตอนที่ 23 – การค้นคว้าเพื่อหาความรู้โบราณในยุคเรเนสซองต์ ::
 
5 เรื่องล่าสุด
 
เรื่องเก่าๆ แบ่งตามหัวข้อย่อย
English
SGfSE
@Work
F.L.T.  **Update**
Health
Miscellaneous
 
แสดงความคิดเห็น
เกสต์บุ๊ค
เว็บบอร์ด
 
ผู้สนับสนุน
ไดอารี่แลนด์
 
:: F.L.T. ::

การค้นคว้าเพื่อหาความรู้โบราณในยุคเรเนสซองต์

หนึ่งพันสามร้อยปีผ่านไปหลังจากไดโอแฟนตัส โลกในยุคกลางได้เปิดทางให้กับวัฒนธรรมเรเนสซองต์และการเริ่มต้นของยุคใหม่ หลังจากความมืดหม่นในยุคกลาง ยุโรปตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกกระหายต่อความรู้ ผู้คนมากมายหันเหไปสนใจในผลงานคลาสสิคสมัยโบราณ หนังสือในยุคโบราณไม่ว่าเล่มไหนก็ตามที่หลงเหลืออยู่ จะได้รับการแปลเป็นภาษาลาติน – ซึ่งถือเป็นภาษาของผู้ที่มีความรู้ – ในช่วงของการฟื้นฟูการแสวงหาและการบรรลุถึงความรู้

โคลด บาเชท์ (Claude Bachet) ขุนนางชาวฝรั่งเศสเป็นนักแปลที่มีความสนใจอย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ เขาได้เป็นเจ้าของหนังสือ Arithmetica ฉบับภาษากรีกของไดโอแฟนตัส และได้แปลและตีพิมพ์มันออกมาในชื่อ Diophanti Alexandrini Arithmeticorum Libri Sex ในกรุงปารีส เมื่อปีค.ศ. 1621 และหนังสือแปลฉบับนี้เองที่ตกมาอยู่ในมือของแฟร์มาต์

ทฤษฎีบทของแฟร์มาต์กล่าว่า ไม่มีสูตรตรีคูณของพีธากอรัสใดๆ สำหรับค่าที่เกินกว่าค่ายกกำลังสอง ไม่มีสูตรตรีคูณของตัวเลขที่ตัวเลขสองตัวรวมกันแล้วเท่ากับเลขตัวที่สาม โดยที่เลขทั้งสามตัวเป็นเลขยกกำลังสามของจำนวนเต็มบวก หรือเลขยกกำลังสี่ของจำนวนเต็มบวก หรือเลขยกกำลังห้า ยกกำลังหก หรือเลขยกกำลังอื่นใด แฟร์มาต์คิดทฤษฎีบทแบบนี้ขึ้นมาได้อย่างไร?

« ตอนที่แล้วตอนต่อไป »