��ҹ�ç����͹ :: Monday, Dec. 20, 2004 :: RMF รอบสอง ::
5 ����ͧ����ش
����ͧ���� �觵����Ǣ������
English
SGfSE
@Work
F.L.T.��**Update**
Health
Miscellaneous
�ʴ������Դ���
�ʵ���
��纺���
���ʹѺʹع
�������Ź��
:: Miscellaneous ::

วันเสาร์เราไปธนาคาร ระหว่างรอคิวก็เห็นมีคนมาถามเรื่องซื้อกองทุนประเภทที่หักลดหย่อนภาษีได้ ช่วงนี้ใกล้สิ้นปีคนหลายๆคนก็รีบเร่งซื้อกองทุนโดยมุ่งหวังหักภาษี แต่หลายๆคนก็เพิ่งตัดสินในซื้อเป็นครั้งแรกและไม่รู้ว่าควรจะซื้อกองทุนไหนดี เราก็เป็นแบบนี้เหมือนกันเมื่อปีที่แล้ว ตัดสินใจซื้อเอาวันสุดท้ายโดยไม่มีความรู้ ผลที่ได้ก็คือ เราได้ภาษีคืน ๒๐ เปอร์เซ็นต์ตามฐานภาษีขั้นสูงสุด แต่หลังจากเวลาผ่านไปมูลค่ากองทุนที่เราซื้อลดลงเรื่อยๆ ทำให้ขาดทุนไปเกือบ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ หักลบกลบหนี้แล้วทำให้ได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าเราทำการบ้านเสียหน่อย หาความรู้เสียหน่อยก็คงไม่เป็นแบบนี้

เราเคยพูดเรื่องกองทุน RMF ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่คิดว่าจะพูดซ้ำอีกครั้ง เป็นเรื่องที่เราเรียนรู้เพิ่มจากประสบการณ์ตัวเอง... อย่างที่รู้ๆกันว่ากองทุน RMF มีให้เลือกหลายประเภท แต่ถ้าแบ่งหลักๆตามการลงทุนก็จะมีแค่ กองทุนตราสารทุน กับกองทุนตราสารหนี้ กองทุนตราสารทุน คือเอาเงินไปลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ลงทุนในพันธบัตร บางบริษัทก็จะออกกองทุนผสมออกมาด้วย (ส่วนใหญ่จะเรียกว่า เฟล็กซิเบิ้ลฟันด์) ถ้าเปรียบเทียบกันกองทุนตราสารหนี้ความเสี่ยงน้อยที่สุด แต่ก็ได้ผลตอบแทนน้อยที่สุด ในขณะที่กองทุนตราสารหุ้นก็ความเสี่ยงสูงสุด ได้ผลตอบแทน (ถ้าได้) ก็สูงตามไปด้วย ส่วนกองทุนผสมก็อยู่ตรงกลาง

ปีที่แล้วตอนที่เราตัดสินใจซื้อกองทุน เราก็คิดว่าตัวเรายังรับความเสี่ยงได้สูง เพราะยังมีรายได้ประจำและอายุยังไม่มาก ก็เลยตัดสินใจซื้อกองทุนแบบผสมแทนที่จะซื้อกองทุนตราสารหนี้ (ที่จริงจะซื้อกองทุนหุ้นแล้วหละ แต่ราคามันค่อนข้างสูง เช่นกองทุนผสมราคาประมาณสิบกว่าบาท เกือนบๆยี่สิบบาทต่อหนึ่งหน่วย แต่กองทุนหุ้นจะราคายี่สิบกว่าบาทต่อหนึ่งหน่วย เรายังไม่แน่ใจว่ามันจะมีผลยังไง ก็เลยซื้ออันที่เป็นกลางๆไปก่อน)

ปรากฎว่าตอนที่เราซื้อนั้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ค่อนข้างสูง (จำตัวเลขไม่ได้ แต่ประมาณว่า น่าจะเกือบๆ ๗๐๐ หรือกว่า ๗๐๐ จุด) เป็นช่วงที่จัดว่าพีคสุดๆช่วงหนึ่งได้เลย เราไม่ได้ทำการบ้านมาก่อน ก็เลยไม่รู้ว่าราคาของกองทุนที่ลงทุนในหุ้นจะค่อนข้างอิงกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ (ยิ่งลงทุนในหุ้นเป็นเปอร์เซ็นต์มากก็ยิ่งอิงมาก) เราก็เลยซื้อกองทุนหุ้นไปในระดับราคาที่ขึ้นไปสูงสุดๆช่วงหนึ่ง

ในช่วงปีที่ผ่านมาดัชนีตลาดหลักทรัพย์โดยรวมๆลดลงจากตอนปลายเดือนธันวาคมปีที่แล้ว มูลค่ากองทุนของเราก็เลยลดลงตามไปด้วย ดูราคาทีไร เราก็ขาดทุนอยู่ประมาณ ๗–๘ เปอร์เซ็นต์ทุกที ลุ้นให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ขึ้น มันก็ไม่ขึ้นซะที ยิ่งมีข่าวร้ายๆประเภทการก่อการร้ายในภาคใต้ ราคาน้ำมันแพง ไข้หวัดนก ฯลฯ ตลาดหุ้นก็มีแต่ทรงๆทรุดๆ เราก็งงๆว่าจะทำยังไงให้กองทุนเรากำไร ผ่านไปครึ่งปีเราเพิ่งมาคิดออกว่า ในเมื่อราคากองทุนของเรามันต่ำกว่าที่ซื้อครั้งแรก เราก็ควรจะต้องซื้อเพิ่มเพื่อเอามาเฉลี่ยราคากับที่ซื้อไปแล้ว เป็นการลดต้นทุน

เช่น เราซื้อกองทุนครั้งแรก ราคา ๑๗ บาท ตอนดัชนี SET ประมาณเกือบ ๗๐๐ พอดัชนีร่วงมาที่ ๖๐๐ ราคากองทุนเราก็ลดเหลือ ๑๕.๕๐ บาท เราก็ขาดทุนไปแล้วหนึ่งบาทห้าสิบสตางค์ต่อหน่วย (ประมาณแปดเปอร์เซ็นต์) แต่ถ้าเราซื้อกองทุนเพิ่มอีกเท่ากับที่ตอนแรกซื้อ (เช่นเดิมซื้อ ๑๐๐ หน่วย ก็ซื้อเพิ่มอีก ๑๐๐ หน่วย) ต้นทุนกองทุนของเราก็จะเหลือแค่ ๑๖.๒๕ บาท ต่อมาดัชนี SET ขึ้นไปที่ประมาณ ๖๕๐ มูลค่ากองทุนเราอาจจะขึ้นไปที่ ๑๖ บาท ตอนนี้เราก็จะขาดทุนอยู่แค่ ๒๕ สตางค์ เทียบกับที่อาจจะขาดทุนอยู่ ๑ บาทต่อหน่วย ถ้าไม่ซื้อเพิ่มตอนราคาถูก

หลังจากคิดตรงนี้ได้ เราก็เริ่มสังเกตดัชนี SET ว่าถ้าเมื่อไหร่มันเริ่มต่ำลงและถ้าเรามีเงินเหลือ เราก็จะซื้อกองทุนหุ้นเพิ่ม กองทุน RMF นี่มีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งว่า ห้ามขายคืนก่อนอายุ ๕๕ ปี ไม่งั้นจะต้องจ่ายภาษีที่ได้ลดหย่อนคืน แต่ก็ยังมีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งตรงที่ว่า ถ้าเราสามารถสลับกองทุนไปมาระหว่างบริษัทเดียวกันได้ เช่น สลับจากกองทุนหุ้นไปเป็นกองทุนพันธบัตร เราก็เลยใช้วิธีว่า ตอนดัชนี SET ลดลง เราก็ซื้อกองทุนหุ้นเพิ่ม (เพราะราคาจะต่ำ) แต่พอดัชนี SET สูงขึ้น ราคากองทุนก็สูงขึ้น แต่ความที่เรายังขายกองทุนไม่ได้ เราก็ใช้สลับกองทุนหุ้นออกไปเป็นกองทุนพันธบัตร ส่วนใหญ่มูลค่ากองทุนพันธบัตรจะเปลี่ยนแปลงน้อยมากๆ และมักจะเพิ่มขึ้น ทำให้ค่อนข้างมั่นใจว่ามูลค่าที่กำไรจะไม่หดหาย ไม่เหมือนปล่อยให้อยู่ในกองทุนหุ้น เมื่อไหร่ที่ดัชนีตก มูลค่าก็มักจะลดลงเยอะ

จากการที่เราซื้อกองทุนหุ้นเพิ่ม และสลับกองทุนออกสองสามครั้งในช่วง ๓–๔ เดือนที่ผ่านมา ทำให้ตอนนี้โดยรวมๆมูลค่ากองทุนของเราขาดทุนอยู่ ๓-๔ เปอร์เซ็นต์ (ที่ยังไม่กำไรเพราะครั้งแรกเราซื้อเป็นเงินก้อนใหญ่ และกว่าจะนึกได้ว่าต้องทำยังไงก็ผ่านมาเกินครึ่งปี ความจริงต้นๆปี เราน่าจะซื้อกองทุนได้ในราคาถูกๆกว่านี้ แต่ตอนนั้นคิดไม่ทัน)

เราสำนึกว่า การทำอะไรโดยไม่มีความรู้ ไม่ทำการบ้าน ทำให้ต้องมาคิดหาวิธีแก้ไข แต่ก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่มขึ้น เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ถ้าเราต้องการจะซื้อกองทุนเพื่อหวังหักลดหย่อนภาษี และไม่ต้องการคิดมากไม่ต้องทำการบ้านมาก ก็น่าจะซื้อกองทุนพันธบัตรดีกว่า เพราะซื้อไปแล้ว โอกาสขาดทุนในมูลค่ากองทุนน้อยมากๆ (แต่ก็กำไรน้อยมากเช่นกัน) จะซื้อตอนไหนก็ไม่ค่อยแตกต่างกันมาก (จะเหมาะอย่างยิ่งกับกรณีคนเพิ่งตัดสินใจซื้อครั้งแรก ในช่วงใกล้ๆสิ้นปีแบบนี้) แต่ถ้าหวังจะได้กำไรจากมูลค่ากองทุนด้วย (นอกเหนือจากส่วนลดหย่อนภาษี) ก็ต้องซื้อกองทุนหุ้น แต่จะบุ่มบ่ามซื้อเลยไม่ได้ ต้องอาศัยเวลาสักช่วงหนึ่งในการศึกษาและสังเกตดูมูลค่าของกองทุน และพิจารณาเอาเองว่า ตอนไหนที่ราคาลดต่ำลงไปจนสมควรซื้อ ต้องซื้อในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

วันที่เราไปธนาคาร แล้วเห็นคนที่เขากำลังจะซื้อกองทุนทำท่าไม่มั่นใจ เราอยากจะอธิบายเรื่องที่เราเพิ่งเขียนมานี้ให้เขาฟังเหมือนกัน แต่ไม่กล้า เพราะไม่รู้จักเขา อยู่ๆจะไปเสนอตัวพูดนั่นพูดนี่ เดี๋ยวเขาอาจจะด่าเอา แล้วอีกอย่างเราก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เราคิดมันถูกหรือผิด เกิดพูดไปแล้วเขาฟังและทำตาม แต่มันไม่เป็นไปอย่างที่เขาคาด จะกลายเป็นทำผิดกับเขาอีก ไม่ได้พูดตอนนั้น ก็เลยมาเขียนตรงนี้ คนอ่านก็ใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยก็แล้วกัน